“ สีหมอก” ไก่พื้นเมือง ต้นทุนต่ำ โตไว ราคาดี

SA Game

ภาพจาก pixabay

ทางเลือกอาชีพใหม่ ไก่พื้นเมือง“ สีหมอก” ต้นทุนต่ำ โตไว เลี้ยงแค่ 67 วันจับขายได้

“สีหมอก” ไก่พันธุ์ผสมระหว่างไก่ดำที่มีลักษณะกระดูกดำและขนดำสนิท กับไก่ประดู่หางดำมีคุณสมบัติเฉพาะ คือโตเร็ว และเนื้อมีรสชาติดี มาผสมกัน ส่วนผลที่ได้ของการผสมกับไก่ดำ ในระดับฟาร์มนำร่องพบว่าไก่สายพันธุ์ลูกผสมที่เกิด ขึ้นโตเร็ว เนื้อมีรสชาติดีใกล้เคียงกับไก่ประดู่หางดำ และกลิ่นคาวลดลงอย่างมาก

แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสายพันธุ์ลูกผสมจะคงความเป็นสีดำของขน และกระดูกไว้ แต่สิ่งที่พบคือ สีเนื้อที่ปรากฏไม่ดำสนิท และไม่สม่ำเสมอกันทุกตัว แต่ด้วยลักษณะเนื้อที่มีสีเทาถึงเทาเข้มเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไก่สายพันธุ์ใหม่นี้ มีชื่อ “ไก่สีหมอก”

“ไก่สีหมอก เป็นผลงานวิจัย ของ ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (ไก่พื้นเมือง) ภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

SA Game
ภาพจาก pixabay

โดยเป้าหมายของการพัฒนาสายพันธุ์ คือ การดึงคุณสมบัติเด่นของสายพันธุ์ไก่ประดู่หางดำมาใช้ประโยชน์เนื่องจากเห็นว่าชาวจีนและชาวม้งนิยมนำไก่ดำมารับประทาน โดยมีความเชื่อว่ามีคุณสมบัติเป็นอายุวัฒนะ” รศ. ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายฯ เปิดเผย

จากการวิจัยพบว่าไก่ดำมีสารเมลานินและสารคาร์โนซีน ที่ช่วยเรื่องชะลอความแก่และความชราภาพของเซลล์ มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่จุดด้อยของไก่ดำ คือ รสชาติเนื้อไม่ดี มีกลิ่นคาว และเจริญเติบโตช้า ทำให้มีต้นทุนในการเลี้ยงสูง ดังนั้นในการพัฒนาสายพันธ์ ครั้งนี้ จะมุ่งเน้นกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ที่สนใจสุขภาพ แต่ไม่ชื่นชอบรสชาติไก่ดำแบบเดิม

“ไก่สีหมอกเพศผู้ที่น้ำหนัก 1.3 กิโลกรัม ใช้เวลาเลี้ยง 67 วัน ซึ่งเร็วกว่าไก่ประดู่หางดำถึง 2 สัปดาห์ ถือเป็นสายพันธุ์ที่น่าสนใจของเกษตรกรในการนำไปประกอบออาชีพ เพราะใช้ต้นทุนน้อย รายได้ดี สามารถขายได้ในราคา 90-150 บาทต่อกิโลกรัม” รศ. ดร.บัญญัติ เหล่าไพบูลย์ รองผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายฯ เปิดเผย

ปัจจุบัน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กำลังผลิตไก่สีหมอกเฉพาะกิจ โดยทดสอบพันธุ์และการเจริญเติบโตร่วมกับภาคเอกชน  สำหรับเกษตรกรที่สนใจจะนำไก่สีหมอกไปเลี้ยงจะต้องแจ้งความประสงค์แก่ทางศูนย์ฯ และเข้าร่วมการฝึกอบรมเลี้ยงไก่พันธุ์ดังกล่าว

ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการผลิตไก่ตามจำนวนที่ต้องการด้วย ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ รศ.บัญญัติ เหล่าไพบูลย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ โทร. 043-342407

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0-2278-8200 ต่อ 8304, 081-9102402 โทรสาร 0-2298-0454

หากสนใจในอาชีพการเลี้ยงสัตว์ปีก เป็ด ไก่ สามารถสอบถามหน่วยงานที่จำหน่ายสัตว์ปีกได้ตามเบอร์โทร ดังต่อไปนี้

  • ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ทับกวาง จ.สระบุรี  0-3635-7319,0-3635-7208,0-3632-7208
  • ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี  0-3728-8154
  • สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์สระแก้ว 0-3723-1806
  • สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์จันทบุรี 0-3941-1481
  • ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุรินทร์ 0-4451-2828
  • ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ลำพญากลาง จ.ลพบุรี 0-3646-1600
  • สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์บุรีรัมย์ 0-4460-5969
  • สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์ศรีสะเกษ 0-4561-2507
  • สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์อุบลราชธานี 0-4525-9952,0-4525-9996
  • ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระ จ.ขอนแก่น 0-4326-1194
  • สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์นครพนม 0-4258-1108
  • สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์เลย 0-4284-1517
  • สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์สกลนคร 0-4275-6013
  • สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์อุดรธานี 0-4225-0710, 0-4224-4297
  • ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ 0-5331-1836
  • สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์แม่ฮ่องสอน 0-5368-4031
  • สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์พะเยา 0-5446-6080
  • ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก 0-5589-0712, 0-5554-0603
  • สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์พิษณุโลก 0-5526-8028
  • สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์นครสวรรค์ 0-5623-7256
  • ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวาง จ.ราชบุรี 0-3222-8418
  • สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์สุพรรณบุรี 0-3544-6216
  • ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุราษฎร์ธานี 0-7727-4250
  • สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์กระบี่ 0-7561-8053
  • สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์นครศรีธรรมราช 0-7535-4921,0-7535-4933
  • ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ยะลา 0-7320-3218
  • สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์เทพา 0-7431-8041

เกษตร และ บทวิเคราะห์ เทคโนโลยีทางการเกษตร ตลาดขายพืชผลทางการเกษตร ผลกระทบทางการเกษตร งบประมาณและนโยบายรัฐเพื่อการเกษตร และการส่งออกพืชผลทางการเกษตร ที่ได้รับความสนใจ ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน