วิธีป้องกันและรักษาอาการอาหารเป็นพิษ ที่คุณควรรู้!!

“อาหารเป็นพิษ” อันตรายที่มากับอาหาร ที่คุณไม่ควรละเลย
ปัญหาท้องไส้ที่เรามักจะเจอกันอยู่เป็นประจำนั่นคือ อาหารเป็นพิษ นั่นเองค่ะ ซึ่งอาการของอาหารเป็นพิษถึงแม้ส่วนใหญ่จะไม่ได้ร้ายแรง แต่ก็สร้างปัญหาให้กับผู้ป่วยไม่น้อยเลยค่ะ เพราะเมืองไทยของเรามีอากาศร้อน ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ค่ะ วันนี้จะพาคุณมาดูอาการอาหารเป็นพิษ พร้อมวิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษมาฝากค่ะ
อาหารเป็นพิษ หมายถึง อาการท้องเดิน (อุจจาระร่วง) เนื่องจากการกินอาหารที่มีสารพิษที่เกิดจากเชื้อโรคปนเปื้อน เป็นสาเหตุของอาการท้องเดินที่พบได้บ่อยในหมู่คนทั่วไปมีสาเหตุมาจาการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส จนทำให้เกิด อาการอาหารเป็นพิษ ซึ่งอาการในผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ได้ร้ายแรงมากนัก แต่ถ้าหากในเคสของผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ร่างกายอาจจะเสียน้ำ เสียเกลือแร่ มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงและก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

อาหารเป็นพิษ อาการอย่างไร?
อาการอาหารเป็นพิษ เชื้อจะแสดงอาการภายใน 1-2 วัน ขึ้นอยู่กับประเภทและเชื้อโรคที่เข้าไปร่างกาย บางคนอาจจะแสดงอาการภายใน 2- 6 ชั่วโมง ซึ่งอาการจะแบ่งอยู่ออกเป็น 2 แบบ คือ
1.อาหารเป็นพิษอาการไม่รุนแรง
- คลื่นไส้ อาเจียนติดต่อกันหลายครั้ง
- ถ่ายเหลว ปวดท้องแบบบิดเกร็งเป็นพัก ๆ
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย กระหายน้ำบ่อย
- แขนเป็นเหน็บชา มองเห็นไม่ชัด
- ไม่อยากทานอาหาร เบื่ออาหาร
หากมีอาการไม่รุนแรงสามารถยาแก้อาหารเป็นพิษตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาด จิบน้ำบ่อยๆ จะหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง

2.อาหารเป็นพิษอาการรุนแรง
- ท้องเสียร่วมกับมีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
- อาเจียนเป็นเลือดหรือเลือดจนในอุจจาระ
- อาเจียนต่อเนื่องนานกว่า 12 ชั่วโมง
- ภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ปัสสาวะน้อย
- แขนขาอ่อนแรง หายใจลำบาก ตามัวมองไม่ชัด
- ปวดท้องอย่างรุนแรง ท้องเสียติดต่อกัน 3 วัน
หากมีอาการอาหารเป็นพิษรุนแรงตามที่กล่าวไป ไม่ควรซื้อยาแก้อาหารเป็นพิษมาทานเองเพราะอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
อาการอาหารเป็นพิษ มีสาเหตุมาจาก
สาเหตุของอาการอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อโรค SA Game สารพิษหรือสารเคมีปนเปื้อน อาหารที่มักทำให้เกิดอาหารเป็นพิษส่วนมากจะเป็น เนื้อสัตว์ อาหารทะเลที่ปรุงไม่สุก อาหารค้างคืน อาหารกระป๋อง เป็นต้น อีกทั้งยังมีเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการได้ เช่น
1. บาซิลลัสซีเรียส (Bacillus cereus) พบในดิน ข้าว ธัญพืช จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสียภายใน 1-6 ชั่วโมงหลังจากได้รับเชื้อ
2.ซาลโมเนลลา(Salmonella) พบได้ในเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ไข่ จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องร่วง เป็นไข้ จะเกิดอาการภายใน 12-36 ชั่วโมง
3.ชิเกลล่า (Shigella) พบในน้ำดื่มที่ไม่สะอาด และอาหารสด เชื้อนี้สามารถกระจายระหว่างบุคคลได้ จะทำให้เกิดอาหารปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน

วิธีป้องกันและรักษาอาการอาหารเป็นพิษ
1.ไม่ทานอาหารที่มีแมลงวันตอม
2.ไม่ควรทานยาเพื่อให้หยุดถ่ายเด็ดขาด
3.หลีกเลี่ยงอาหารค้างคืน อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
4.รับประทานอาหารอ่อน งดอาหารเผ็ดและย่อยยาก
5.ระวังการทานเห็ดบางชนิด โดยเฉพาะเห็ดชนิดที่ไม่รู้จัก
6.ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
7.หากทานอาหารกล่อง อาหารถุงแกง ต้องอุ่นร้อนก่อนทานทุกครั้ง
8.ล้างผัก ผลไม้ให้สะอาดก่อนทาน เพราะอาจมีารเคมีตกค้างปนเปื้อน
9.ดื่มน้ำผสมเกลือแร่สำหรับอาการท้องร่วงท้องเสีย เพื่อชดเชยน้ำที่เสียไป
10.ทำอาหารเองโดยเลือกของที่สดใหม่ แยกหมวดหมู่อาหารและเก็บไว้ในตู้เย็น
11.ไม่ละลายอาหารแช่แข็ง ผักแช่แข็ง ด้วยการตั้งทิ้งไว้หรือแช่น้ำ ควรอุ่นด้วยไมโครเวฟ
เมื่อรู้ถึงอาการและสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษตามที่ DooDiDoได้นำมาเสนอแล้ว ก็อย่าลืมเลือกรับประทานอาหารที่ประโยชน์ สะอาด และปรุงให้สุกทุกครั้งด้วยนะคะ เพราะสุขภาพที่ดี เริ่มได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารของคุณนั่นเองค่ะ
ขอบคุณแหล่งที่มา : https://shopee.co.th/blog/food-poisoning/, https://allwellhealthcare.com/food-poisoning/