รวบรวมสายพันธุ์ปลากัดยอดนิยม ที่คนนิยมเลี้ยงมากที่สุด!!

SA Game

มารู้จัก!! ปลากัดแต่ละสายพันธุ์ที่คนนิยมเลี้ยงกัน ว่ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง??

สำหรับกระแสความนิยมของปลากัดสวยงามในบ้านเรา มีแนวโน้มที่จะพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะปลากัดยักษ์เป็นปลากัดสวยงามเศรษฐกิจตัวใหม่ที่ทำให้ตลาดปลากัดสวยงามในประเทศและต่างประเทศมีสีสันมากขึ้น และปัจจุบันปลากัดยักษ์ได้มีการบรรจุอยู่ในประเภทของการประกวดปลากัดสวยงามทั้งในและต่างประเทศ การคัดเลือกสายพันธุ์ปลากัดยักษ์ ปลาต้องอายุตั้งแต่ 5-6 เดือนขึ้นไป

และหากพูดถึงปลากัด โดยทั่วไปจะหมายถึง Betta splendens ซึ่งนิยมเลี้ยงกันอยู่ทั่วโลก โดยที่ปลากัดชนิดนี้ มีลักษณะทางพันธุกรรม ที่สามารถสร้างลักษณะสีและครีบได้มากมายแฝงอยู่ จึงทำให้มีการพัฒนาปลากัด สายพันธุ์ที่มีลักษณะใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ และมีการตั้งชื่อปลาที่พัฒนาได้ใหม่นั้นด้วย สายพันธุ์ปลากัดที่นิยมในไทย ปลากัดเป็นปลาที่คนไทยเพาะเลี้ยงเพื่อความสวยงาม และเพื่อการแข่งขันกีฬาปลากัด จึงทำให้มีการพัฒนาสายพันธุ์ และสีสันมากมาย สายพันธุ์ปลากัดหลักๆ ที่ทางเรานำมาแนะนำกันให้รู้จักในวันนี้แบ่งได้ 2 ประเภท มาดูกันว่าจะมีสายพันไหนบ้างที่น่าสนใจและนิยมเลี้ยงกัน

SA Game
ขอบคุณภาพจาก: www.facebook.com/PlaKadPaLungsomrouy

1. สายพันธุ์ปลากัดเลี้ยงเพื่อการกีฬา
ปลากัดป่า หรือปลากัดทุ่ง: สายพันธุ์ปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่ง พบได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ปลากัดป่าเหล่านี้จะมีขนาดเล็ก สีพื้นฐาน เช่น สีเทาหม่น สีเขียว สีน้ำตาล ฯลฯ ปลากัดป่าเป็นปลาที่ว่องไว อึดทน กัดเก่ง สายพันธุ์ปลากัดป่าแยกย่อยออกไปอีกก็จะมี ปลากัดป่าใต้ ปลากัดป่าอีสาน และปลากัดป่ามหาชัย

ปลากัดหม้อ หรือปลาลูกหม้อ: เป็นสายพันธุ์ปลากัดที่ถูกพัฒนามาจากปลากัดป่า โดยการนำพ่อพันธุ์ปลากัดป่าที่กัดเก่ง รูปร่างดี ไปผสมกับปลากัดป่าตัวเมีย ลูกปลากัดชุดแรกเรียกว่า “ปลาสังกะสี” เมื่อนำปลาสังกะสีไปเพาะเลี้ยงอีกหนึ่งรุ่น ลูกที่ออกมาจึงเรียกว่า “ปลาลูกหม้อ” เป็นสายพันธุ์ปลากัดที่ตัวใหญ่ และสวยกว่าสายพันธุ์ปลากัดป่า และปลากัดสังกะสี สีของปลาลูกหม้อส่วนใหญ่คือ สีน้ำเงิน สีแดง คราม เขียวคราม

SA Game
ขอบคุณภาพจาก: https://sites.google.com/site/kittilaksnlimtrakulphithaks

ปลากัดยักษ์: เป็นสายพันธุ์ปลากัดที่พัฒนาสายพันธุ์โดยคนไทย ปลากัดยักษ์ (Giant Betta) มีขนาดใหญ่กว่าปลากัดสายพันธุ์อื่นถึง 2 เท่า ขนาดมาตรฐานอยู่ที่ 2.5 นิ้วขึ้นไป สามารถแบ่งปลากัดยักษ์ออกเป็น 3 ประเภท คือ ปลากัดยักษ์คีบสั้น ปลากัดยักษ์ครีบยาว ปลากัดยักษ์ป่าหรือปลากัดหม้อยักษ์

ปลากัดมาเลย์: เป็นสายพันธุ์ปลากัดที่ขึ้นชื่อเรื่องความหนังเหนียว เกร็ดแน่น และดุดัน หรือที่หลายคนเรียกว่า ปลาลูกนอก เพราะนำเข้าจากประเทศมาเลเซีย ลักษณะท่าทางน่าเกรงขาม

SA Game
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/4361694-4361694/

2. สายพันธุ์ปลากัดสวยงามที่เลี้ยงไว้ดูเล่น
ปลากัดฮาร์ฟมูนหรือปลากัดพระจันทร์ครึ่งซีก: เป็นปลากัดสวยงามที่มีลักษณะเด่นอยู่ที่หางใหญ่กว้าง แผ่เป็นครึ่งวงกลม กางได้กว่า 180 องศา ก้านหางของสายพันธุ์ปลากัดฮาร์ฟมูน จะมี 4 ด้านขึ้นไป

ปลากัดคราวน์เทลหรือปลากัดหางมงกุฎ: จุดเด่นของปลากัดสวยงามสายพันธุ์นื้คือ ก้านครีบหางที่โผล่ยาวออกจากครีบหางคล้ายหนาม สายพันธุ์ปลากัดหางมงกุฎที่สมบูรณ์จะต้องมีครีบหางที่แผ่ทับซ้อนกับครีบอื่น ๆ ก้านครีบแตกออกสม่ำเสมอสวยงาม ขนาดตัวต้องไม่เล็กเกินไป หางและครีบสมส่วนกับลำตัว

SA Game
ขอบคุณภาพจาก: www.kaidee.com

ปลากัดดับเบิลเทล: เป็นปลากัดสวยงามที่มีความโดดเด่นที่หางขนาดใหญ่ 2 แฉก หรือที่เรียกว่า หางคู่ เป็นสายพันธุ์ปลากัดที่กลายพันธุ์มาจากปลากัดจีน เป็นสายพันธุ์ปลากัดที่เกิดจากการกลายพันธุ์โดยบังเอิญ ไม่ได้ตั้งใจเพาะพันธุ์ให้มีลักษณะหางคู่ตั้งแต่แรก

ปลากัดจีน: เป็นปลากัดสวยงามที่พัฒนามาจากปลากัดหม้อ โดยคัดปลากัดที่มีครีบยาวกว่าปกติ พัฒนาให้มีสีสันฉูดฉาดมากขึ้น มีลักษณะคล้ายงิ้วจึงเรียกสายพันธุ์ปลากัดชนิดนี้ว่า ปลากัดจีน โดยความยาวของหางและครีบจะยาวเท่ากับหรือมากกว่าความยาวของหัวและลำตัวรวมกัน

SA Game
ขอบคุณภาพจาก: https://sites.google.com/site/plakadthiykawkilsusakl

ปลากัดหูช้าง: จุดเด่นของปลากัดสายพันธุ์นี้อยู่ที่ครีบหูที่มีขนาดใหญ่พอ ๆ กับครีบหาง เป็นการพัฒนาลักษณะครีบหูที่แต่เดิมเป็นสีใส ให้มีรูปร่างและสีขาว รวมถึงมีขนาดใหญ่กว่าเดิม จนกลายมาเป็นหูช้าง (Dumbo Betta)

ปลากัดแฟนซี: เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ปลากัดสวยงามที่นิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น เป็นการพัฒนาสายพันธุ์มาจากปลากัดหม้อ นำมาเพาะพันธุ์ให้มีสีสันหลากหลาย เรียกสีที่ได้แตกต่างออกไป เช่น ปลากัดโค่ย ปลากัดมาเบิ้ล ปลากัดซุปเปอร์เรด ปลากัดอสูร ปลากัดเรดดรากอน ฯลฯ

การเลี้ยงปลากัดไม่จำเป็นต้องเลี้ยงเพื่อนำไปกัดกันเท่านั้น เพราะปลากัดเป็นปลาสวยงามที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง มือใหม่ที่เลี้ยงปลากัดมักประสบปัญหาการเลี้ยงปลากัดแล้วตาย ดังนั้น DooDiDo แนะนำว่าควรศึกษาวิธีเลี้ยงปลากัดเสียก่อน โดยเฉพาะการเตรียมน้ำและเรื่องของอาหาร หากชื่นชอบก็สามารถเพาะเลี้ยงปลากัดเป็นอาชีพเสริมได้ในอนาคตได้

ขอบคุณภาพจาก: https://shopee.co.th/blog/betta-fish-care-guide/