ทานอาหารอย่างไรให้ได้ประโยชน์ เมื่อเข้าสู่อายุครรภ์ไตรมาส 3!!

WM

คุณแม่ใกล้คลอดควรรู้ อาหารที่รับประทานเมื่ออายุครรภ์ 40 สัปดาห์

การรับประทานอาหารของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่นั้น ถือเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญเอามากๆ เพราะจะส่งผลไปถึงเจ้าตัวน้อยในครรภ์ด้วย ฉะนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานให้เป็นประจำ ในช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์ 9 เดือน ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากเป็นอันดับแรก เนื่องจากลูกน้อยในครรภ์จะสามรถดูดซึมสารอาหารเพื่อพัฒนาการเติบโตภายในครรภ์จากสายรก เพื่อให้ได้รับสารอาหารให้ครบถ้วนเพียงพอ สำหรับการเจริญเติบโตของลูกในครรภ์ คุณแม่ต้องให้ความสำคัญกับวัตถุดิบเมนูอาหารทุกมื้อที่รับประทานเข้าไปในร่างกาย

คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารและวิตามินครบถ้วน เพื่อให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย ในช่วงสุดท้ายของเราตั้งครรภ์ คุณแม่ยังคงต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นประมาณ 300 กิโลแคลอรีต่อวัน ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกมีการขยายขนาดร่างกายเพิ่มขึ้นมาก รวมถึงการสร้างกระดูกและฟัน คุณแม่จึงควรกินอาหารที่มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง วันนี้เรานี้สาระความรู้ดีมาฝาก คุณแม่ใกล้คลอดควรรู้ อาหารที่รับประทานไตรมาส 3

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@amseaman

ทานอย่างไรให้ได้ประโยชน์ ทั้งแม่และลูกเมื่อเข้าสู่อายุครรภ์ 40 สัปดาห์

การจัดสรรด้านโภชนาการให้เหมาะกับคุณแม่เมื่ออายุครรภ์ 40 สัปดาห์ (ไตรมาส3)

ในช่วงที่คุณแม่มีอายุครรภ์ 40 สัปดาห์ เป็นช่วงที่คุณแม่ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นวันละประมาณ 300 กิโลแคลอรี่ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับการรับประทานอาหารหลัก 1 มื้อ และ คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เช่นเดิม โดยให้เน้นโปรตีนเป็นพิเศษ เพราะระยะนี้เป็นช่วงที่ร่างกายต้องการโปรตีนสูงที่สุด และควรระมัดระวังเรื่องการทานของหวาน และ เรื่องน้ำหนักที่ขึ้นมากเกินไป เพราะอาจเสี่ยงเป็นเบาหวานได้  ไม่ควรรับประทานของหมักดอง งดอาหารรสจัดและอาหารปรุงไม่สุก ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่รวมถึงหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีควันบุหรี่

สารอาหารที่จำเป็นต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 3

-โปรตีน เนื่องจากช่วงระยะ 7-9 เดือน หรือ เข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์คือช่วงที่ร่างกายของคุณแม่และลูกในครรภ์ต้องการโปรตีนมากที่สุด เพื่อใช้ในการสร้างอวัยวะต่างๆ ของลูก รวมทั้งบำรุงร่างกายของคุณแม่ แหล่งของโปรตีนที่ดีมีคุณประโยชน์ ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เต้าหู้ ไข่ ประเภทถั่วต่าง ๆ

-กรดไขมันจำเป็นประเภทโอเมก้า 3 6 9 DHA ซึ่งกรดไขมันประเภทนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกายซึ่งร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น โดยหน้าที่สำคัญของกรดไขมันจะช่วยพัฒนาเซลล์สมองและเซลล์ประสาทของลูก รวมถึงพัฒนาในเรื่องการมองเห็นของลูกอีกด้วย โดยกรดไขมันจำเป็นเหล่านี้สามารถหาได้จาก เนื้อปลา อาหารทะเล ประเภทถั่วต่าง ๆ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@thehumbleco

-แคลเซียม เป็นอีกหนึ่งสารอาหารที่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างกระดูกและฟันของทารก โดยเฉพาะในระยะไตรมาสที่ 3 ลูกน้อยจะอยู่ในท่ากลับหัว เตรียมพร้อมที่จะคลอดออกมา ซึ่งกระโหลกศรีษะของลูกในช่วงนี้นั้น แม้จะเป็นรูปร่างแล้ว แต่กระดูกจะยังไม่แข็งแรงพอ การรับประทานแคลเซียมจะช่วยให้กระโหลกศรีษะของลูกแข็งแรงขึ้น พร้อมที่จะมุดผ่านพ้นช่องเชิงกรานจนคลอดออกมาได้ แหล่งของแคลเซียมได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม, ไข่, เต้าหู้, ถั่ว, ผักใบเขียว, ปลาที่รับประทานได้พร้อมกระดูก

-ธาตุเหล็ก เพราะร่างกายคุณแม่ต้องสร้างเม็ดเลือดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และ เต้านมของคุณแม่จะเริ่มทำการผลิตน้ำนมได้ในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 8 เดือน ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างน้ำนมให้เพียงพอต่อความต้องการให้กับลูกหลังคลอด การบริโภคธาตุเหล็กจึงมีความจำเป็นอย่างมาก ซึ่งธาตุเหล็กจะสามารถพบได้มากในเนื้อสัตว์ ตับ ไข่ และ ผักใบเขียว

-วิตามินซี มีความจำเป็นมากเพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถซึมซับธาตุเหล็กได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงไว้ลำเลียงออกซิเจนไปสู่ลูกน้อยในครรภ์ รวมถึงจะช่วยสร้างน้ำนมให้เพียงพอ โดยวิตามินซีจะพบได้จากผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม, แอปเปิ้ลเขียว เป็นต้น

-โฟเลต หรือที่รู้จักกันในชื่อ กรดโฟลิก สารอาหารที่สำคัญต่อการสังเคราะห์ดีเอ็นเอของเซลล์เพื่อสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ การบริโภคโฟเลตอย่างเพียงพอเหมาะสมจะลดความเสี่ยงในการเกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ โฟเลตสามารถพบได้มากในผักใบเขียว ตับ ธัญพืช เป็นต้น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/marjonhorn-3698690/

ทั้งนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 นี้มักจะพบความเปลี่ยนแปลงได้มากโดยที่พบเป็นประจำก็คือ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น (ทั้งนี้น้ำหนักควรเพิ่มไม่เกิน 2 กิโลกรัมต่อเดือน) , ปัสสาวะบ่อยขึ้น โดยเฉพาะช่วงใกล้คลอดเนื่องจากศรีษะลูกเคลื่อนที่ต่ำลง เหนื่อยง่าย นอนหลับไม่สบาย อึดอัดจากภาวะมดลูกโตขึ้น ปวดหลัง เนื่องจากน้ำหนักตัวของลูกในครรภ์ที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งหากมีภาวะฉุกเฉินหรืออาการสำคัญที่บ่งชี้ว่าไม่ปกติ เช่น อาการท้องแข็ง หรือ เจ็บครรภ์ทุก ๆ 5-10 นาที , มีมูกเลือดหรือเลือดสด ๆ ออกทางช่องคลอด , มีน้ำเดินเป็นน้ำใส ๆ คล้ายปัสสาวะ ,รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง ,ปวดศรีษะ ,ตาพร่ามัว ,จุกแน่นลิ้นปี่ , มีอาการมือ เท้าบวม ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาโดยทันที

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับสาระความรู้ดีที่เรา DooDiDo ได้นำมาฝากให้กับคุณแม่ที่กำลังอยู่ในช่วงสุดท้ายของตั้งครรภ์นี้และเป็นท้องแรกอยู่ กับเรื่อง คุณแม่ใกล้คลอดควรรู้ อาหารที่รับประทานไตรมาส 3 การทานอาหารที่มีประโยชน์นั้นจำเป็นต่อการเติบโตของลูกน้อยในช่วงสุดท้ายก่อนออกมาลืมตาดูโลก ในช่วงนี้คุณแม่ควรทานให้ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ นอกจากนี้ อยากให้ทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก ที่จะช่วยสนับสนุนระบบการทำงานของฮีโมโกบินในเม็ดเลือดแดง ที่เป็นตัวนำออกซิเจนไปสู่ลูกน้อยในครรภ์ได้ดีอีกด้วยนะค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.bpksamutprakan.com