กรรณิการ์ เป็นสมุนไพรบำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน แก้พิษ

SA Game

ภาพจาก https://sites.google.com/site/vegetationtreethai15/

สมุนไพรบำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ กรรณิการ์ ยังแก้ลมวิงเวียน ปวดท้อง แก้พิษ

กรรณิการ์ สมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในตอนกลางของประเทศอินเดีย เข้าใจว่าเข้ามาในไทยในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือในสมัยตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ และมีการสันนิษฐานว่าชื่อ “กรรณิการ์” นั้นมาจากคำว่า “กรรณิกา” ซึ่งมีความหมายว่า ช่อฟ้า กลีบบัว ดอกไม้ ตุ้มหู และเครื่องประดับหู

ซึ่งหากสังเกตจากรูปทรงของดอกกรรณิการ์แล้วก็จะเห็นว่าเหมาะจะใช้เป็นเครื่องประดับหูได้ดี เพราะมีหลอดที่ใช้สอดในรูที่เจาะใส่ต้มหูได้นั่นเอง โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ มีเรือนยอดเป็นรูปทรงพีระมิดแคบ มีความสูงของต้นประมาณ 3-5 เมตร

SA Game
ภาพจาก http://xn--o3cdbaevbumi7e7euch5pc3gc.blogspot.com/2012/03/blog-post_3649.html

เปลือกของลำต้นมีลักษณะขรุขระและเป็นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมสี่เหลี่ยม และมีขนแข็งสากมือ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือการปักชำกิ่งเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี มีความชื้นปานกลาง แสงแดดแบบเต็มวันและครึ่งวัน

หากปลูกในที่แห้งแล้งจะออกดอกน้อย โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน แต่สามารถออกดอกได้ตลอดปีหากมีฝน หรือได้รับการตัดแต่งและมีการให้น้ำอย่างเหมาะสม

กรรณิการ์ สมุนไพรที่มีชื่อท้องถิ่นแตกต่างกันออกไป กณิการ์ กรรณิการ์ กันลิกา กรรณิกา (ภาคกลาง), สะบันงา (น่าน), ปาริชาติ (ทั่วไป) ชื่อสามัญ Night blooming jasmine, Night jasmine, Coral jasmine และชื่อวิทยาศาสตร์ Nyctanthes arbor-tristis Linn. จัดอยู่ในวงศ์มะลิ (OLEACEAE)  ด้านวิวัฒนาการในปัจจุบันจัดให้สกุล NYCTANTHES อยู่ภายใต้วงศ์ OLEACEAE และอยู่ในวงศ์ย่อย MYXOPYREAE[8

ใบกรรณิการ์ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ มีความกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบหรือบางใบจะหยักแบบห่าง ๆ กัน และตามขอบใบอาจมีขนแข็ง ๆ หลังใบมีขนแข็งสากมือ ส่วนท้องใบมีขนแข็งสั้น ๆ มีเส้นแขนงของใบข้างละ 3-4 เส้น ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบ และมีก้านใบสั้น ยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร

ดอกกรรณิการ์ ออกดอกเป็นช่อ ออกตามซอกใบหรือง่ามใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1.2-2 เซนติเมตร มีใบประดับรูปคล้ายใบเล็ก ๆ อยู่ 1 คู่ที่ก้านช่อดอก ในแต่ละช่อดอกจะมีดอกอยู่ประมาณ 3-7 ดอก ดอกเป็นดอกย่อยสีขาวและมีกลิ่นหอม ดอกจะบานในช่วงเย็นและจะร่วงในช่วงเช้าวันรุ่งขึ้น ไม่มีก้านดอก

ในแต่ละดอกจะมีใบประดับอยู่ 1 ใบ ดอกตูมมีกลีบดอกเรียงซ้อนกันและบิดเป็นเกลียว กลีบมีประมาณ 5-8 กลีบ ปลายกลีบเว้า ส่วนโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีแสดสั้น ๆ ยาวประมาณ 1.1-1.3 เซนติเมตรด้านในมีขนยาว ๆ สีขาวที่โคนหลอด

ส่วนด้านนอกเกลี้ยง ที่ปลายหลอดแยกเป็นกลีบสีเขียว หรือที่เรียกว่ากลีบดอก ประมาณ 5-8 กลีบ ในแต่ละกลีบจะมีความยาวประมาณ 0.1-1.1 เซนติเมตร โคนกลีบแคบ ปลายกลีบกว้างและเว้าลึก ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 2 ก้านติดอยู่ภายในหลอด กลีบดอกบริเวณปากหันด้านหน้าเข้าหากัน มีก้านชูอับเรณูเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกันกับหลอดดอก

ส่วนรังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ มีลักษณะกลม มีอยู่ 2 ช่อง และมีออวุลช่องละ 1 เม็ด ส่วนเกสรเพศเมียจะมีแค่ 1 อัน ยอดเกสรเพศเมียมีลักษณะเป็นตุ่มมีขน และยังมีกลีบเลี้ยงดอกสีเขียวอ่อนอยู่ 4 กลีบ ติดกันเป็นหลอดรูปกรวยปลายติดหรือหยักตื้น ๆ 5 หยัก ด้านในเกลี้ยง ส่วนด้านนอกมีขน

ผลกรรณิการ์ ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับหรือมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมค่อนข้างแบน ปลายผลเป็นมนและมีติ่งแหลม ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลเมื่อแก่จะแตกอ้าออกเป็น 2 ซีก ข้างในผลมีเมล็ดซีกละหนึ่งเมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมแบนและเป็นสีน้ำตาล[1],[5],[8]

สกุลกรรณิการ์ มีสมาชิกอยู่เพียง 2 ชนิด ซึ่งมีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย สุมาตรา ชวา และในประเทศไทย โดยในไทยจะพบได้ทั้ง 2 ชนิด ซึ่งชนิดแรกก็คือ กรรณิการ์ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nyctanthes arbor–tristis L. (ชนิดนี้นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และเป็นชนิดที่กล่าวถึงในบทความนี้ครับ) ส่วนอีกชนิดคือ กรรณิการ์ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nyctanthes aculeata Craib (ในปัจจุบันชนิดนี้ได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว)[8]

สรรพคุณ

  • รากมีรสขมฝาด ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ (ราก)[1],[2],[3],[4],[6],[9]
  • รากใช้เป็นยาแก้วาโยกำเริบเพื่ออากาศธาตุ (ราก)[6]
  • ดอกช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)[6]
  • รากใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ราก)[1],[2],[3],[4],[9]
  • ใช้เป็นยาแก้อาการอ่อนเพลีย (ราก)[6]
  • ใช้เป็นยาแก้โลหิตตีขึ้น (ดอก)[6]
  • ใบมีรสขม ช่วยทำให้เจริญอาหาร ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 1 กำมือ เติมน้ำคั้นลงไปแล้วคั้นเอาแต่น้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใช้แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง ถ้ากินมากจะมีฤทธิ์เป็นยาระบาย (ใบ)[1],[2],[4],[6],[9]
  • ใบใช้เป็นยาแก้ตานขโมย (ใบ)[6],[9]
  • ช่วยบำรุงเส้นผม แก้เส้นผมหงอก ด้วยการใช้ใบนำไปแช่กับน้ำมันมะพร้าวประมาณ 1-2 คืน ก็จะได้น้ำมันที่มีสีเหลืองอ่อน ๆ สำหรับนำมาใช้ทาหมักผมก่อนนอน จะช่วยป้องกันไม่ให้ผมหงอกก่อนวัยได้ (ใบ)[1],[2],[4],[6] ส่วนข้อมูลจากหนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย ระบุว่าส่วนที่นำมาใช้เป็นยาแก้ผมหงอกคือส่วนของราก (ราก)[9]
  • ช่วยบำรุงผิวหนังให้สดชื่น (ราก)[1],[2],[4],[6],[9]
  • เปลือกมีรสขมเย็น ใช้เปลือกชั้นในนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ส่วนต้นก็มีสรรพคุณแก้ปวดศีรษะเช่นกัน (ต้น, เปลือก)[1],[2],[3],[4],[6],[9]
  • ดอกมีรสขม ช่วยแก้ลมวิงเวียน (ดอก)[1],[2],[4],[5],[6]
  • ใช้เป็นยาแก้ลมและดี (ราก)[4],[6],[9]
  • ต้นมีรสหวานเย็นฝาดใช้เป็นยาแก้ไข้ ส่วนใบและดอกก็มีสรรพคุณแก้ไข้เช่นกัน (ต้น, ใบ, ดอก)[1],[2],[3],[4],[5],[6],[9]
  • ใบช่วยแก้ไข้เพื่อดีและแก้ไข้จับสั่นชนิดจับวันเว้นวัน (ใบ)[6]
  • ดอกใช้เป็นยาแก้ไข้มิรู้สติ เป็นไข้บาดทะจิต แก้ไข้ผอมเหลือง (ดอก)[6]
  • รากช่วยแก้อาการไอ (ราก)[1],[2],[9]
  • แพทย์ชนบทในสมัยก่อนจะใช้ต้นและรากกรรณิการ์ นำมาต้มหรือฝนรับประทานเป็นยาแก้อาการไอสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ (ต้น, ราก)[6]
  • ใช้เป็นยาแก้ตาแดง (ดอก)[6]
  • ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้อง (ใบ)[6]
  • ใช้เป็นยาแก้อาการท้องผูก (ราก)[1],[2],[3]
  • ใบใช้เป็นยาระบาย (ใบ)[6],[9]
  • ใช้เป็นยาแก้อุจจาระเป็นพรรดึก (ราก)[1],[2],[4],[6],[9f]
  • ในอินเดียใช้ใบเป็นยาขับพยาธิ (ใบ)[6]
  • ในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ใช้ดอกเป็นยาขับประจำเดือน (ดอก)[6]
  • ใบใช้เป็นยาบำรุงน้ำดี ขับน้ำดี (ใบ)[1],[2],[3],[4],[5],[6],[9]

ต้นและใบใช้เป็นยาแก้อาการปวดตามข้อ (ต้น, ใบ)[1],[2],[6],[9]

ดอกใช้เป็นยาแก้พิษทั้งปวง (ดอก)[6]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกรรณิการ์

มีการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดแอลกอฮอล์จากใบ ผล และเมล็ดกรรณิการ์เพื่อยับยั้งโรคไขข้อเสื่อมในหนูทดลองที่ถูกทำให้ติดเชื้อวัณโรคจนเกิดอาการไขข้อเสื่อม แล้วได้ทำการให้สารสกัดจากกรรณิการ์กับหนูทดลองทางช่องปาก 25 มก./กก. เป็นเวลา 47 วัน ผลการทดลองพบว่า สารสกัดดังกล่าวสามารถช่วยยับยั้งการเกิดไขข้อเสื่อมได้ โดยจะช่วยลดปริมาณการตายของเซลล์ที่เกิดการติดเชื้อได้[6]

และยังมีงานวิจัยต่อเนื่องที่ระบุว่า เมื่อทำการให้สารสกัดคลอโรฟอร์มจากดอกและใบกรรณิการ์ความเข้มข้น 50, 100, 200 มก./กก. เป็นระยะเวลา 27 วันกับหนูทดลองที่ถูกกระตุ้นให้เป็นโรคเบาหวานด้วยสาร Streptozocin พบว่าสารสกัดจากดอกและใบมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยลดระดับ Alk Phos, LPO, SGPT, คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของไขมันอุดตันได้อีกด้วย[6]

ประโยชน์ของกรรณิการ์

ดอกมีสาร Carotenoid nyctanthin ที่ให้สีเหลืองอมแสด ใช้ทำเป็นสีสำหรับย้อมผ้า ด้วยการใช้โคนกลีบดอกส่วนหลอดสีส้มแดงนำมาโขลกแบบหยาบ ๆ เติมน้ำ แล้วคั้นส่วนน้ำกรองจะได้น้ำที่มีสีเหลืองใส ใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ และถ้าเติมน้ำมะนาวหรือสารส้มลงไปเล็กน้อยในขณะย้อม ก็จะทำให้สีคงทนยิ่งขึ้น[3],[6] และนอกจากจะใช้ย้อมสีผ้า สีจร สีผ้าไหมแล้ว ยังใช้ทำสีขนมได้อีกด้วย[4]

ดอกใช้สกัดทำเป็นน้ำมันหอมระเหย นำไปใช้สำหรับทำเป็นน้ำหอม[5]

ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นฉากหลัง บังสายตาหรือใช้ปลูกเป็นกลุ่ม ๆ และควรห่างจากลานนั่งเล่นพอสมควร เพราะดอกจะมีกลิ่นหอมแรงในช่วงเย็น[5]

ในประเทศอินเดียจะนับถือต้นกรรณิการ์ว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนึ่ง (แต่ในประเทศอินเดีย ต้นกรรณิการ์จะเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงได้ถึง 30 เมตร) จึงอาจถือได้ว่าต้นกรรณิการ์ก็จัดเป็นไม้มงคล[7]

สมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย สมุนไพรประจำบ้าน ที่คนไทยรู้จักกันดี สรรพคุณเป็นยา รักษาโรคได้ ควรมีติดไว้ประจำบ้าน พืชที่ใช้เป็นยารักษาโรค หรือ เสริมสุขภาพ ช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี การหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรกับชีวิตประจำวัน

สมุนไพรที่ได้จากส่วนของพืชโดยตรง (พืชวัตถุ) โดยส่วนต่างๆ ที่นำมานั้นมีสารที่สามารถใช้เป็นยาได้ ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด รากหรือหัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ สมุนไพรที่ได้จากอวัยวะของสัตว์ (สัตว์วัตถุ) ได้แก่ ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ฯลฯ เช่น ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา สมุนไพรที่ได้จากแร่โดยธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ ตามกรรมวิธี (ธาตุวัตถุ) นำมาใช้เป็นยา  ติดตามได้ที่ doodido

อ้างอิง

  1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  “กรรณิการ์ (Kanni Ka)”.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  หน้า 16.
  2. หนังสือสมุนไพรไทยในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.  “กรรณิการ์”.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).  หน้า 81.
  3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.  “กรรณิการ์ Night Jasmine”.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  หน้า 151.
  4. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “สมุนไพรให้สีแต่งสีอาหาร กรรณิการ์”. [ ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th.
  5. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “กรรณิการ์”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th.
  6. ไทยโพสต์.  “กรรณิการ์ ไม้ดอกงามบรรเทาไข้ ป้องกันผมหงอกก่อนวัย”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaipost.net.
  7. มูลนิธิหมอชาวบ้าน.  นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 268 คอลัมน์: ต้นไม้ใบหญ้า.  “กรรณิการ์ คุณค่าที่คู่ควรจมูก ตา (และหู)”.  (เดชา ศิริภัทร).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th.
  8. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.  “กรรณิการ์”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th/botany/.
  9. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  “กรรณิการ์”.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  หน้า 7-8.
  10. https://medthai.com/